เทคนิควางแผนการเงิน เพื่อเอาตัวรอดช่วงโควิด

เทคนิควางแผนการเงิน เพื่อเอาตัวรอดช่วงโควิด

            ช่วงนี้ เป็นช่วงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เชื่อว่าหลายคนคงจะได้รับผลกระทบกันไม่มากก็น้อย บางคนอาจจะต้องหยิบเงินเก็บขึ้นมาใช้สำหรับอะไรหลาย ๆ อย่าง ทำให้เงินที่เก็บไว้ค่อย ๆ หมดไป ทั้งนี้เราในฐานะคนทำงาน จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิต และมีฐานะการเงินที่เป็นปกติ ดังนั้น เทคนิควางแผนการเงิน เพื่อเอาตัวรอดช่วงโควิด จะเป็นตัวช่วยให้ทุกคน สามารถใช้ชีวิตไปได้อย่างสบาย ๆ ในช่วงการกักตัว ของการแพร่ระบาดนี้

ถ้าไม่มีการวางแผนการเงิน จะเป็นอย่างไร ?

            เชื่อว่าหลายคนในที่นี้ คงเคยทำ บัญชีรายรับรายจ่าย กันใช่ไหมคะ เพราะถือเป็นพื้นฐานที่เราเคยเรียนมาตั้งแต่ประถม ซึ่งบางคนอาจจะเคยทำเมื่อนานมาแล้ว บางคนอาจจะทำแค่นาน ๆ ที หรือบางคนทำรายรับรายจ่ายทุกวันอยู่แล้วจนเป็นนิสัย แต่เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่เคยวางแผน “รายรับรายจ่ายล่วงหน้า” ทำให้หลายคนจึงไม่สามารถจัดการเรื่องการเงินได้ดีนัก ข้อดีของการวางแผนทางการเงิน เมื่อทำงานได้เงินเดือนก้อนแรกแล้ว จึงไม่รู้ว่าควรจะจัดการอย่างไรดี

            ปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทำให้ส่งผลต่อชีวิตได้ในระยะยาว เพราะว่าโลกของการทำงานนั้นไม่ได้หยุดอยู่ที่ 5 ปี หรือ 10 ปี หลังจากจบการศึกษาและเริ่มทำงานแล้ว ไปจนถึงยามชราต่างหากที่เป็นโลกของความเป็นจริง ที่คนเราจะต้องทำงานหาเงินไปพร้อม ๆ กับการใช้ชีวิตไปอีกอย่างน้อย 40 ปี จึงจะเข้าสู่วัยเกษียณ และแม้หลังจากเกษียณแล้วก็ตามก็ยังต้องจัดการเรื่องเงินอีกมาก คนเราจึงควรจะจัดการเรื่องการใช้เงินให้เหมาะสม และควรจะมีการส่งเสริมความรู้ด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง

เทคนิควางแผนการเงิน เพื่อเอาตัวรอดช่วงโควิด

วิธีวางแผนการเงิน

1. เลิกใช้แบงก์ 50 บาท

            จริง ๆ แล้วเทคนิคการเก็บเงินด้วยแบงค์ 50 บาท ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะเป็นสิ่งที่หลายคนพอจะรู้มาแล้วบ้าง ซึ่งหลายคนอาจจะเก็บเงินด้วยแบงค์ 50 กันอยู่แล้ว แต่คนที่ยังไม่เคยลองวิธีนี้ หรือลองเก็บแล้วไม่คืบหน้าไปไหน เราขอแนะนำให้ลองเก็บโดยการเพิ่มกิมมิคเข้าไปด้วย ไม่ยุ่งยากอะไร แค่ตั้งเป้าหมายให้กับการเก็บแบงค์ 50 เป็นการกระตุ้นให้คุณไปให้ถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น เก็บได้ 150 ใบ ได้ไปเที่ยวภูเก็ตได้ เก็บได้ 400 ใบ ได้ไปเที่ยวได้ไกลถึงไทเป เก็บได้ 600 ใบ ได้ถอยโทรศัทพ์มือถือระดับไฮเอนด์เครื่องใหม่ เก็บได้ 1,800 ใบ ได้ดาวน์รถยนต์ป้ายแดงได้หนึ่งคัน เมื่อคุณเก็บแบงค์ 50 บาทได้จำนวนหนึ่งแล้ว จากนี้คุณจะเลือกทำตามเป้าหมาย หรือจะเลือกนำเงินไปลงทุนเพื่อต่อยอดเงินก็ได้

2. ทานข้าวที่บ้านให้บ่อยขึ้น

            การทานข้าวที่บ้าน จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายเท่าตัวเลยทีเดียว เพราะบางคนวันหยุดเสาร์อาทิตย์ต้องหาเรื่องออกไปทานอาหารนอกบ้านกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนัดเดท นัดเพื่อน หรือใช้เวลากับครอบครัวก็ตาม ลองเปลี่ยนใหม่ดูไหม ชวนเพื่อนหรือนัดแฟนมาทานข้าวที่บ้าน หรือทำอาหารจากบ้าน แล้วไปหาสวนสาธารณะนั่งทานอาหารกับครอบครัวก็ได้ เพราะการไปทานอาหารนอกบ้านนอกจากจะเปลืองงบค่าอาหาร แต่ยังรวมถึงงบเอนเตอร์เทนด้วย แถมการทำกิจกรรมด้วยกันที่บ้าน ยังช่วยคุณเซฟเวลาในการเดินทาง และได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น มีกิจกรรมให้ทำมากมายเลย เช่น ดูหนัง เล่นเกม การงดทานอาหารฟาสฟู้ดหรือซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อ ก็ช่วยคุณประหยัดเงินได้ด้วย การที่คุณทำอาหารทำเองคุณควบคุมค่าใช้จ่ายได้ แล้วยังเลือกทำเมนูที่ดีต่อสุขภาพได้ด้วย เช่น สลัดผัก หุงข้าวกล้อง แล้วคุณยังเตรียมอาหารเองเพื่อไปทานที่ทำงานได้ด้วย บอกได้เลยว่าประหยัดเงินได้เป็นกอบเป็นกำเลยนะแต่ละเดือน มีเงินให้เหลือเก็บแน่

3. ปิดให้หมด ประหยัดค่าไฟได้เยอะ

            เราต้องผจญกับหน้าร้อนสุดหฤโหดกันมาแล้วเมื่อเดือนเมษายน แถมยังอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอีกด้วย ทำให้ต้องกักตัวอยู่บ้าน หลายบ้านคงแทบกระอักกับค่าไฟที่พุ่งสูงปรี๊ด และอากาศร้อนจะยังคงอยู่กับเราไปอีกสักพัก แม้จะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เรื่องการเปิดแอร์ หรือเปิดพัดลม แต่เราสามารถประหยัดไฟในส่วนอื่น ๆ ได้ เช่น ปิดไฟทุกครั้งเมื่อออกจากห้องหรือออกจากบ้าน กลางวันถ้ามีแสงสว่างมากให้งดเปิดไฟในบ้าน ก็ช่วยเซฟเงินค่าไฟได้เยอะทีเดียว บริเวณไหนในบ้านที่เราไม่ได้อยู่ก็ให้ปิดไฟ ปิดโทรทัศน์ เราไม่ได้ให้คุณงดดูทีวี แต่ให้ลดจำนวนเครื่องที่เปิดทีวี ถ้าบ้านคุณมีทีวี 3 เครื่อง คุณควรดูทีวีด้วยกันเพียงเครื่องเดียว นอกจากช่วยประหยัดไฟแล้ว ยังได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันกับครอบครัวอีกด้วย อีกวิธีคือการลดระดับแพคเกจเคเบิลที่คุณดู เช่น จากระดับพรีเมียม มาเป็นระดับโกลด์ หรือซิลเวอร์ ก็ได้ ช่วยคุณประหยัดเงินในแต่ละเดือนได้อย่างไม่น่าเชื่อ

4. แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้

            สำหรับวิธีสุดท้าย เป็นเทคนิคในการควบคุมการชำระหนี้ เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ คุณสามารถสร้างเป็นกราฟเพื่อดูความคืบหน้าในแต่ละเดือน และดูได้ว่าอีกกี่เดือนคุณจะชำระหมด ยกตัวอย่างเช่น คุณมีหนี้สินเชื่อ เพื่อซ่อมแซมบ้าน จำนวนเงินสินเชื่อ 200,000 บาท ระยะเวลาการชำระเงินคือ 24 เดือน แต่คุณสามารถชำระเพื่อโปะหนี้ได้ภายในสิ้นปีแรก คุณสามารถทำกราฟโดยแบ่งออกเป็นรายเดือน 24 เดือน แล้วดูว่าคุณผ่อนชำระไปได้กี่เดือน และกี่บาท แล้วเหลืออีกจำนวนเท่าไหร่ที่คุณต้องชำระ วิธีนี้จะช่วยให้คุณปิดหนี้ได้เร็วขึ้น และลดดอกเบี้ยลงได้ด้วยนะ หลักการแจ้งเตือนชำระหนี้สามารถใช้ได้กับการผ่อนชำระเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ทำให้คุณตรวจสอบความก้าวหน้าในการชำระหนี้ และยังเป็นการกระตุ้นให้คุณปิดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย

ทิ้งท้าย

             วิธีการวางแผนการเงินทั้งหมดนี้ คุณสามารถเลือกนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องทำตามที่เราแนะนำเป๊ะ อาจนำไปปรับใช้บางทริกที่ง่าย ๆ ก่อนก็ได้ แล้วค่อยขยับสเต็ปขึ้น เพราะการออมเงิน แค่คุณคิดว่าจะเริ่มต้นออม ก็เท่ากับคุณเริ่มออกตัววิ่งแล้วละ นอกจากนี้ สำหรับใครที่ขายของออนไลน์ เรามี 4 เทคนิคขายออนไลน์ให้ปัง

Copyright ©2023 teawpaikab. All rights reserved.